ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

น้ำใหูไม่เท่ากัน




เวลามีอาการเวียนหัว ไปหาหมอ หมอบอกเป็นน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือมันจะเกี่ยวกับการที่น้ำเข้าหูตอนสระผมเมื่อวันก่อน ???  เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เราต้องย้อนกลับไปศึกษาโครงสร้างของหูกันก่อนค่ะ หูของเราแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ หูชั้นนอก หูชั้นกลางและหูชั้นใน
หูชั้นนอก มีขอบเขตตั้งแต่รูหูจนถึงเยื่อแก้วหู
หูชั้นกลาง คือส่วนที่อยู่หลังเยื่อแก้วหู ภายในหูชั้นกลางประกอบด้วยกระดูก ฆ้อน ทั่ง และโกลน
หูชั้นใน เป็นอวัยวะรูปหอยทาก อยู่ถัดจากหูชั้นกลาง ตั้งอยู่ในฐานกระโหลก
โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นโรคของหูชั้นใน โดยมีการคั่งของน้ำในหูชั้นใน  การคั่งของน้ำในหูชั้นใน ส่งผลให้เกิดอาการหูอื้อ รู้สึกแน่นๆในหู การได้ยินลดลง อาจมีเสียงวิ๊งๆในหู โดยมากมักมีอาการทางหูนำมาก่อนอาการเวียนศีรษะ
ผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน  เมื่อมาพบหมอ นอกจากการตรวจร่างกายเบื้องต้นแล้ว การส่งตรวจเพิ่มเติมจะช่วยส่งเสริมให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น การส่งตรวจเพิ่มเติมได้แก่
  • การตรวจการได้ยิน
  • การตรวจประสาทหูชั้นใน EcochG
  • การตรวจสมองและเส้นประสาทหูด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)

เมื่อเรารู้แน่ชัดแล้วว่า เราเป็นโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เรามาเริ่มการรักษาไปพร้อมๆกันค่ะ การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นจะให้การรักษาเป็นลำดับขั้น
ลำดับขั้นเริ่มจากน้อยไปมาก ขั้นตอนในการรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากันเริ่มจาก
การลดอาหารเค็ม (low salt diet) เชื่อว่าเกลือโซเดียมในอาหารเค็มมีส่วนในการดึงน้ำเข้ามาสู่ร่างกาย ส่งผลให้เกิดการคั่งของน้ำในหูชั้นในเพิ่มขึ้น ปริมาณเกลือโซเดียมที่รับประทานได้ในแต่ละวันไม่เกิน 1,500-2,000 มิลลิกรัม หรือเท่ากับปริมาณเกลือ 1 ช้อนชา เคล็ดลับง่ายๆในการลดอาหารเค็ม
  • งดการใช้เกลือในการปรุงอาหาร ใช้เครื่องปรุงอื่นๆ เช่นกระเทียม พริกไทย หัวหอม หรือสมุนไพรในการชูรสอาหารแทน
  • รับประทานอาหารหที่มีปริมาณเกลือโซเดียมต่ำๆ พลิกอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง
  • การดูฉลากโภชนาการนอกจากดูปริมาณโซเดียมแล้ว เราต้องดูจำนวนหน่วยบริโภคด้วย ในกรณีที่หน่วยบริโภคมากกว่า 1 หน่วย ปริมาณโซเดียมที่แสดงไว้ ต้องคูณจำนวนหน่วยบริโภคเสมอ ฉลากข้างต้นถ้าเราดูคร่าวๆปริมาณเกลือโซเดียมค่อนข้างต่ำ คือ 148 mg อย่างไรก็ดี ถ้าเรากินทั้งถุงซึ่งมี 4 หน่วยบริโภค เราจะได้ปริมาณ